รายการบล็อก

Custom Search
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดกลยุทธ์เพื่อนำไปใช้

 การกำหนดกลยุทธ์นำไปใช้มี อย่างดังนี้
                1. กลยุทธ์สร้าง (build strategy) หรืออาจเรียกอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์เพิ่มการลงทุน (invest strategy) ซึ่งหมายถึง บริษัทจะต้องเพิ่มการลงทุนในหน่วยธุรกิจ เพิ่มขึ้นให้สามารถสร้าง (build) ส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้น เช่น อาจทุ่มโฆษณาให้มากขึ้น เพิ่มความพร้อมในการจัดจำหน่ายหรือลดราคาผลิตภัณฑ์ให้ต่ำลง  ดังนั้น การใช้กลยุทธ์นี้อาจจำเป็นต้องเสียสละรายได้หรือผลกำไรในระยะสั้น กลยุทธ์สร้างเหมาะที่จะนำไปใช้กับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง  เด็กมีปัญหา บางหน่วยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งปูทางไปสู่ ดวงดาว ในอนาคต
                2. กลยุทธ์รักษา (hold strategy) หรืออาจเรียกอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์ป้องกัน (protect strategy) ซึ่งหมายถึง บริษัทจะต้องรักษาส่วนครองตลาดในปัจจุบันในฐานะที่เป็นผู้นำอยู่แล้ว (preserve existing market share leadership) การรักษา หมายถึง การรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้และไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเพื่อหาลูกค้าใหม่  กลยุทธ์นี้เหมาะกับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง โคนมเข้มแข็ง (strong cash cows) ซึ่งเป็นหน่วยกำลังทำเงิน  จึงควรรักษากระแสเงินเข้าให้ยาวนานต่อไป
3.กลยุทธ์เก็บเกี่ยว (harvest strategy) เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกระแสเงินเข้าในระยะสั้น (short-term cash flow) โดยไม่ห่วงถึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว เพราะบริษัทตั้งใจจะถอนตัวออกจากธุรกิจนั้นในอนาคต ดังนั้นจึงกำหนดโปรแกรมเพื่อตัดทอนค่าใช้จ่ายมากที่สุดในทุกด้าน เช่น ลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา ตัดค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มโรงงานใหม่ที่สึกหรอ ไม่เพิ่มพนักงาน  เป็นต้น โดยมีจุดขายเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรให้ได้มากที่สุด  กลยุทธ์นี้เหมาะกับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง  โคนมที่อ่อนแอ (weak cash cows) ซึ่งมีอนาคตไม่สดใสนัก กลยุทธ์นี้ยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยธุรกิจที่อยู่ในตำแหน่ง เด็กมีปัญหา และสุนัขเฝ้าบ้านได้อีกด้วย
4. กลยุทธ์ถอนตัว (divest strategy) เป็นกลยุทธ์ที่บริษัทนำมาใช้โดยมีจุดประสงค์เพื่อขายธุรกิจหรือเพื่อเปลี่ยนสภาพให้เป็นเงินสด เนื่องจากมองเห็นว่าทรัพยากรที่นำมาใช้ในธุรกิจดังกล่าวได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มค่า จึงควรนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นที่มีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนดีกว่า กลยุทธ์นี้เหมาะที่จะนำมาใช้กับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง สุนัขเฝ้าบ้านและ เด็กมีปัญหา ซึ่งเป็นตัวถ่วงทำกำไรของบริษัท
ความน่าสนใจของตลาด (Market Attractiveness) หรือ อัตราการเติบโตของตลาดสินค้า(Market Growth Rate) คือ อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าทั้งตลาดไม่ใช่ของบริษัท เพราะเกณฑ์ที่ใช้นี้เพื่อต้องการดูว่าตลาดสินค้านั้นๆ มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
เมื่อพิจารณาเกณฑ์ในการแบ่งเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมาสร้างเป็นแมททริกซ์ แบ่งออกเป็น 4ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ที่ส่วนแบ่งตลาดเปรียบเทียบเท่ากับ 1.0 (หรือ 1X เมื่อพิจารณาในรูปที่เป็นแกนนอนและอัตราการขยายตัวของตลาดเท่ากับ 10% (เมื่อพิจารณาในรูป คือ แกนตั้งและการนำรูปมาใส่ ขนาดของรูปก็บ่งบอกถึงขนาดของรายได้ที่เข้าสู่บริษัทด้วย นั่นคือ ถ้ารูปใหญ่ก็แสดงถึงรายได้ที่มาก รูปเล็กก็แสดงถึงรายได้ที่น้อยตามดังรูปข้างล่าง

    ค่าของส่วนครองตลาดสัมพันธ์ของหน่วยธุรกิจ  คำนวณได้จากสมการดังนี้

ส่วนครองตลาดสัมพันธ์  ส่วนครองตลาดของหน่วยธุรกิจของบริษัท
                                           ส่วนครองตลาดของคู่แข่งขันรายใหญ่ที่สุด
                จากรูปตามแกนนอน ได้แบ่งส่วนไว้ตั้งแต่ 0.1-10 โดยถือ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งระหว่าง ส่วนครองตลาดของผู้นำ (leader) และ ส่วนครองตลาดของผู้ตาม (follower) เพราะว่าในอุตสาหกรรมใดก็ตาม จะมีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่ถือครองตลาดสัมพันธ์มากกว่า ดังนั้นส่วนครองตลาดสัมพันธ์ที่มีค่ามากกว่า  1ถือว่ามีส่วนครองตลาดสัมพันธ์สูง(high share) และส่วนครองตลาดสัมพันธ์ที่มีค่าน้อยกว่า  1 ถือว่ามีส่วนครองตลาดสัมพันธ์ต่ำ (low share)
บีซีจี ได้พัฒนาตัวแบบการวิเคราะห์เครือข่ายธุรกิจนี้ขึ้นมา  โดยยึดถือฐานคติหรือสมมติฐาน (assumption) อันเป็นความเชื่อพื้นฐานสำคัญ ประการ
                1. เชื่อว่าครองส่วนตลาดของ SBU ใดก็ตามยิ่งสูงทำให้ฐานะทางการตลาดระยะยาวของ SBU นั้นยิ่งสูงตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ และความสามารถในการทำกำไรมีสูง  ซึ่งเป็นผลมาจากการประหยัดอันเนื่องมาจากขนาด (economy of scale) บริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าย่อมใช้ระบบการผลิตอัตโนมัติ การโฆษณาและการจำหน่ายที่มีขนาดสูงกว่า รวมทั้งการประหยัดอันเนื่องมาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สะสม (experience curv) ที่ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้
                2. เชื่อว่า SBU ใดก็ตามอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการขยายตัวสูง ยิ่งสูงเท่าใดก็ยิ่งต้องใช้เงินสูงตามไปด้วยเท่านั้น เพราะเงินจำนวนนั้นจำเป็นจะต้องนำมาใช้เพื่อขยายยอดขายให้สูงขึ้นและเพื่อรักษาฐานะส่วนครองตลาดสูงเอาไว้ให้ยืดยาวต่อไป
เมื่อนำปัจจัย ด้านมาจัดในรูปของ แมททริกซ์ ก็จะได้แมททริกซ์อันประกอบด้วย ช่อง ดังนี้
                1.ดวงดาว (star) แสดงว่าฐานะหรือตำแหน่งของ SBU เป็นผู้นำในตลาด มีส่วนครองตลาดสูง  อยู่ในอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังขยายตัวสูง  แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนั้นกำลังทำกำไรได้มาก  จึงควรกำหนดเป้าหมายที่จะรักษาจุดเด่นเหนือคู่แข่งขัน  ของบริษัทเอาไว้เป็นประการสำคัญ  เพื่อเผชิญกับคู่แข่งซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  แม้ว่าอุตสาหกรรมนี้จะสามารถทำกำไรได้มาก แต่ก็จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมากเช่นกัน เพื่อสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะตลาดยังไม่อิ่มตัว ส่วนครองตลาดจะสามารถรักษาให้อยู่ในระดับเดิม หรือขยายให้เพิ่มขึ้นได้ด้วยการทุ่มเทการโฆษณาให้มากขึ้น ทุ่มความพยายามด้านการจัดจำหน่ายมากขึ้น หรือลดราคาลง เมื่อลดอัตราการเจริญเติบโตลงจากฐานะตำแหน่งดวงดาว (star) ก็จะเป็นตำแหน่งของโคนม (cash cow)
                2.โคนม (cash cow) แสดงฐานะหรือตำแหน่งของ SBU เป็นผู้นำในตลาดมีส่วนครองตลาดสูง (high market share) แต่อยู่ในอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำหรืออิ่มตัวแล้ว (low growth) โดยปกติ SBU ที่อยู่ในตำแหน่งนี้จะมีลูกค้าประจำหรือลูกค้าที่มีความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ SBU นี้มีปริมาณมากยากที่คู่แข่งขันจะแย่งชิงกันได้  ดังนั้น จึงทำให้มียอดขายสูงและทำกำไรได้สูงอีกด้วย  แต่เนื่องจาก SBUในตำแหน่งโคนมนี้ไม่ต้องใช้จ่ายเพื่อผลิตภัณฑ์ใหม่  หรือขยายตลาดใหม่อีกแล้ว  เพราะว่าตลาดในอุตสาหกรรมนั้นลดลงหรืออยู่ในขั้นอิ่มตัวแล้ว บริษัทจึงเพียงแต่ต้องใช้เงินบ้าง เพื่อรักษาส่วนครองตลาดสูงเอาไว้ ดังนั้นจึงมีกำไรเงินสดเหลืออยู่ปรียบเสมือนมาก ซึ่งเปรียบเสมือนโคนมที่อุดมไปด้วยน้ำนม(น้ำนมนี้เปรียบเสมือนเงินสด) กำไรอันเกิดจากธุรกิจนี้ บริษัทจะนำไปสนับสนุนSBU อื่นๆ  บริษัทจึงควรกำหนดกลยุทธแบบมุ่งเน้น การโฆษณาเพื่อเตือนความทรงจำ จัดโปรแกรมเพื่อลดราคาเป็นครั้งคราว  รักษาช่องทางจัดจำหน่ายเดิมเอาไว้ อาจจะหาวิธีเสนอแบบสไตล์ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ
                3.เด็กมีปัญหา (problem child) หรือ เครื่องหมาคำถาม (question  mask) แสดงว่าฐานะหรือตำแหน่งของ SBU ของบริษัท มีส่วนครองตลาดต่ำ(low market share) เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนครองตลาดของคู่แข่ง แต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวสูง(high growth) ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องใช้เงินมากเพื่อรักษา หรือเพิ่มส่วนครองตลาดให้สูงขึ้น เพื่อเผชิญกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งที่เหนือกว่าซึ่งมีอยู่แล้วในตลาด ปัญหาที่บริษัทต้องตัดสินใจก็คือว่า บริษัทจะเดินหน้าสู้กับคู่แข่งต่อไปหรือจะถอนตัวออกจากตลาดนั้น นี่คือเครื่องหมายที่ยังเป็นคำถาม
                SBU ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในฐานะ เด็กมีปัญหา หรือ เครื่องหมายคำถามเสมอ  การที่บริษัทจะตามผู้นำให้ทันหรือยกฐานะ SBU  นั้น เข้าสู่ขั้นดวงดาว  จำเป็นต้องใช้เงินมากเพราะว่าจะต้องเพิ่มโรงงาน  ซื้ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆเพิ่มขึ้น รวมตลอดทั้งบุคลากรก็ต้องมีเพิ่มขึ้น และจะต้องทุ่มเทความพยายามทางการตลาดอย่างมากอีกด้วย การใช้สัญลักษณ์เครื่องหมายคำถาม  ในสภาพเช่นนี้ ก็เพราะว่าบริษัทจะต้องคิดหนัก ว่าจะทุ่มเงินลงทุนในหน่วยธุรกิจนั้นต่อไป  หรือจะถอนตัวออกจากตลาด การตัดสินใจของบริษัทที่จะเลือกวิธีการดำเนินงานอย่างไรจะเดินหน้าหรือถอยหลัง  ขึ้นอยู่กับบริษัทเชื่อว่า SBU ของบริษัทจะสามารถแข่งขันในตลาดได้สำเร็จ และมีสิ่งสนับสนุนอย่างเพียงพอคุ้มกับที่ลงทุนหรือไม่เป็นสำคัญ
                4. สุนัขเฝ้าบ้าน(dog) แสดงว่าฐานะหรือตำแหน่งของ SBU ของบริษัทมียอดขายจำกัด  เพราะมีส่วนครองตลาดต่ำ (low market share) เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนครองตลาดของคู่แข่ง และอยู่ในอุตสาหกรรมอิ่มตัวหรือลดลง (low growthSBU จะมีกำไรต่ำหรือขาดทุน การลงทุนต่อไปไม่คุ้มค่า โอกาสก้าวหน้ามีน้อย บริษัทซึ่งมีSBU ในฐานะเช่นนี้ควรเลือกส่วนตลาดที่พอจะทำกำไรได้บ้างเท่านั้น พยายามตัดค่าใช้จ่ายการบริการให้น้อยที่สุดหรือไม่ถอนตัวออกจากตลาดนั้นไป
การสร้างแมททริกซ์ BCG เพื่อให้ผู้บริหารได้สามารถจัดสรรทรัพยากรไปสู่หน่วยธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัท ดังนั้น กลยุทธ์ที่ผู้บริหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ แมททริกซ์ BCG ประกอบไปด้วย
1. ลงทุน (Build) กลยุทธ์นี้เพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นผู้นำตลาด เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย (Question Marks) เพราะมีโอกาสในการก้าวเป็นดาวเด่น (Stars)
2. รักษา (Hold) เป็นกลยุทธ์ที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้กับบริษัท และรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ไม่สูญเสียให้คู่แข่ง กลยุทธ์นี้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัวนมอยู่ (Cash Cows) เพราะรักษากระแสเงินสดเข้ามาสู่กิจการให้นานที่สุด
3. เก็บเกี่ยว (Harvest) วัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างรายได้ให้กับบริษัทในระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงระยะยาว กลยุทธ์นี้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัวนมแต่อยู่ในฐานะที่อ่อนแอในตลาด (Weak Cash Cows) และอาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัย(Question Marks) และสุนัข (Dogs) ด้วย
4. ขายทิ้ง (Divest) เป็นกลยุทธ์ที่บริษัทจะต้องตัดสินใจหยุดลงทุนหรือขายทิ้งใน ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือรายได้ไม่มากนักและขาดความน่าสนใจ และ สมควรที่จะจัดสรรทรัพยากรไปในผลิตภัณฑ์หรือหน่วยธุรกิจอื่นที่สร้างรายได้ให้มากกว่า กลยุทธ์นี้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสุนัข (Dogs) และผลิตภัณฑ์ที่น่าสงสัยบางผลิตภัณฑ์ (Question Marks)
แมทริกซ์ BCG จะแสดงฐานะหรือความแข็งแกร่งของบริษัทเมื่อเทียบกับตลาดสินค้านั้นๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 เกณฑ์ คือ
1. ส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบ (Relative Market Share) เป็นการเปรียบเทียบกับคู่
แข่งว่าส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญ ถ้า
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นผู้นำตลาดก็เปรียบเทียบกับอันดับรองลงมา คือที่สองของตลาด ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นผู้ตามก็เปรียบเทียบกับผู้นำตลาด เช่น ในกรณีของ
เป็นผู้นำตลาดมีส่วนแบ่งตลาด 30% และอันดับรองลงมามีส่วนแบ่งตลาด 15% ก็
แสดงว่ามีส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบเท่ากับ 2.0 เท่า แต่ในกรณีของผู้ตามเป็น
อันดับสองมีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับ 10% ในขณะที่ผู้นำตลาดมีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับ
20% ดังนั้นส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบจะเท่ากับ 0.5

2. ความน่าสนใจของตลาด (Market Attractiveness) หรือ อัตราการเติบโตของตลาดสินค้า (Market Growth Rate) คือ อัตราการขยายตัวของตลาดสินค้าทั้งตลาดไม่ใช่ของบริษัท เพราะเกณฑ์ที่ใช้นี้เพื่อต้องการดูว่าตลาดสินค้านั้นๆ มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด

เมื่อพิจารณาเกณฑ์ในการแบ่งเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมาสร้างเป็นแมททริกซ์ แบ่งออกเปน 4 ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ที่ส่วนแบ่งตลาดเปรียบเทียบเท่ากับ 1.0 (หรือ 1X เมื่อพิจารณาในรูปที่เป็นแกนนอน) และอัตราการขยายตัวของตลาดเท่ากับ 10% (เมื่อพิจารณาในรูป คือ แกนตั้ง) และการนำรูปมาใส่ ขนาดของรูปก็บ่งบอกถึงขนาดของรายได้ที่เข้าสู่บริษัทด้วย

แมททริกซ์ BCG (BCG Matrix)

แมททริกซ์ BCG (BCG Matrix) หมายถึง แมททริกซ์ที่แสดงฐานะของหน่วยธุรกิจในเชิงเปรียบเทียบกับตลาดสินค้าที่หน่วยธุรกิจนั้นมีผลิตภัณฑ์อยู่ โดยการเปรียบเทียบจะใช้เกณฑ์หลักๆ 2 ด้าน คือ ส่วนแบ่งตลาดเชิงเปรียบเทียบ (Relative Market Share) และอัตราการเติบโตของตลาดสินค้านั้นๆ (Market Growth Rate) โดยวัตถุประสงค์ของการทำก็คือ เพื่อที่ผู้บริหารจะได้จัดสรรทรัพยากรของบริษัทไปสู่หน่วยธุรกิจที่มีฐานะแข็งแกร่งและสร้างรายได้ให้กับบริษัท แทนที่จะใช้ไปกับหน่วยธุรกิจที่มีฐานะอ่อนแอเมื่อเปรียบเทียบในตลาดสินค้านั้น แมทริกซ์ BCG นี้พัฒนาโดยบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการจัดการชื่อ The Boston Consulting Group (BCG) จึงนำชื่อย่อมาใช้ในการตั้งชื่อของแมททริกซ์

ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทๆหนึ่ง สิ่งที่พบเห็นเป็นประจำก็คือบริษัทจะพยายามเติบโตเพิ่มยอดขายผ่านการเพิ่มชนิดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และจัดรูปแบบการผลิตภายในบริษัทเป็นแบบหน่วยธุรกิจ ในการรับผิดชอบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง เช่น บริษัทผลิตเบียร์ จะเพิ่มยอดขายโดยการเพิ่มชนิดหรือรูปแบบใหม่ๆของผลิตภัณฑ์ เช่น เบียร์กระป๋อง เบียร์สด เบียร์ขวด น้ำดื่ม หรืออาจจะเป็นน้ำผลไม้ เป็นต้น และบริษัทก็จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางด้านการเงิน กำลังคน หรือทรัพยากรด้านอื่นๆ บ่อยครั้งที่บริษัทหรือกิจการมีทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะจัดสรรทรัพยากรเหล่านั้นไปสู่หน่วยธุรกิจหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สร้างกำไรหรือประโยชน์แก่บริษัทใดๆเลย แมททริกซ์ BCG จะเข้ามาช่วยให้ผู้บริหารของบริษัทสามารถใช้กลยุทธ์ในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้

HOT