รายการบล็อก

Custom Search
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดกลยุทธ์เพื่อนำไปใช้

 การกำหนดกลยุทธ์นำไปใช้มี อย่างดังนี้
                1. กลยุทธ์สร้าง (build strategy) หรืออาจเรียกอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์เพิ่มการลงทุน (invest strategy) ซึ่งหมายถึง บริษัทจะต้องเพิ่มการลงทุนในหน่วยธุรกิจ เพิ่มขึ้นให้สามารถสร้าง (build) ส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้น เช่น อาจทุ่มโฆษณาให้มากขึ้น เพิ่มความพร้อมในการจัดจำหน่ายหรือลดราคาผลิตภัณฑ์ให้ต่ำลง  ดังนั้น การใช้กลยุทธ์นี้อาจจำเป็นต้องเสียสละรายได้หรือผลกำไรในระยะสั้น กลยุทธ์สร้างเหมาะที่จะนำไปใช้กับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง  เด็กมีปัญหา บางหน่วยที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งปูทางไปสู่ ดวงดาว ในอนาคต
                2. กลยุทธ์รักษา (hold strategy) หรืออาจเรียกอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์ป้องกัน (protect strategy) ซึ่งหมายถึง บริษัทจะต้องรักษาส่วนครองตลาดในปัจจุบันในฐานะที่เป็นผู้นำอยู่แล้ว (preserve existing market share leadership) การรักษา หมายถึง การรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้และไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเพื่อหาลูกค้าใหม่  กลยุทธ์นี้เหมาะกับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง โคนมเข้มแข็ง (strong cash cows) ซึ่งเป็นหน่วยกำลังทำเงิน  จึงควรรักษากระแสเงินเข้าให้ยาวนานต่อไป
3.กลยุทธ์เก็บเกี่ยว (harvest strategy) เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกระแสเงินเข้าในระยะสั้น (short-term cash flow) โดยไม่ห่วงถึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว เพราะบริษัทตั้งใจจะถอนตัวออกจากธุรกิจนั้นในอนาคต ดังนั้นจึงกำหนดโปรแกรมเพื่อตัดทอนค่าใช้จ่ายมากที่สุดในทุกด้าน เช่น ลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา ตัดค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มโรงงานใหม่ที่สึกหรอ ไม่เพิ่มพนักงาน  เป็นต้น โดยมีจุดขายเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรให้ได้มากที่สุด  กลยุทธ์นี้เหมาะกับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง  โคนมที่อ่อนแอ (weak cash cows) ซึ่งมีอนาคตไม่สดใสนัก กลยุทธ์นี้ยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยธุรกิจที่อยู่ในตำแหน่ง เด็กมีปัญหา และสุนัขเฝ้าบ้านได้อีกด้วย
4. กลยุทธ์ถอนตัว (divest strategy) เป็นกลยุทธ์ที่บริษัทนำมาใช้โดยมีจุดประสงค์เพื่อขายธุรกิจหรือเพื่อเปลี่ยนสภาพให้เป็นเงินสด เนื่องจากมองเห็นว่าทรัพยากรที่นำมาใช้ในธุรกิจดังกล่าวได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มค่า จึงควรนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นที่มีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนดีกว่า กลยุทธ์นี้เหมาะที่จะนำมาใช้กับ SBU ที่อยู่ในตำแหน่ง สุนัขเฝ้าบ้านและ เด็กมีปัญหา ซึ่งเป็นตัวถ่วงทำกำไรของบริษัท

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

HOT